คำอธิบายรายวิชาหมวดวิชาเอกเลือก

Print

Written by DATE_FORMAT_LC2

หมวดวิชาเอกเลือก

522 313 การพัฒนาทักษะชีวิตสำหรับเด็กปฐมวัย 3(3-0-6)

(Children Life Skills and Life Quality Enhancement)

การสร้างสังคมการเรียนรู้แบบเครือข่ายเชื่อมโยงสถานศึกษากับแหล่งวิทยาการ การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น บทบาทการประสานงานระหว่างครอบครัวกับชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก การออกแบบโครงงาน การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายเกี่ยวกับทักษะชีวิต

522 314 การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในระดับปฐมวัย 3(3-0-6)

(Education for Young Children with Special Needs)

คำจำกัดความ และวิธีการเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ กฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง ประเภทและลักษณะของเด็ก ผลของความบกพร่องต่อพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กวัย 0 ถึง 8 ปี การคัดกรองและการประเมินความต้องการจำเป็น การให้ความช่วยเหลือแก่เด็กตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล รูปแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็ก ในโรงเรียน บทบาทของพ่อแม่ ครู และบุคคลที่เกี่ยวข้อง แนวโน้มและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

522 315 การศึกษาสำหรับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย 3(3-0-6) (Education for Parents of Young Children)

ทฤษฎี ครอบครัว สภาพ ปัญหา ความต้องการ โครงสร้าง และบทบาทของครอบครัวในการส่งเสริมพัฒนาการและการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย บทบาทของผู้ปกครองในการประสานงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาปฐมวัย การวิเคราะห์ความต้องการของผู้ปกครอง ทักษะการพูด การเขียน และการสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยี การออกแบบโครงการและการจัดกิจกรรมในการให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง

522 316 การส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัย 3(3-0-6)

(Enhancement of Emotional and Social Development of Young Children)

ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมให้แก่เด็กปฐมวัย หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หลักการและวิธีการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมแก่เด็กปฐมวัย

522 317 โภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 3(3-0-6)

(Nutrition for Young Children)

ศึกษาความรู้ทางโภชนาการ ความสำคัญของอาหารที่มีผลต่อการพัฒนาการของเด็ก การขาดสารอาหาร การเตรียมและการสงวนคุณค่าทางอาหาร การกำหนดรายการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย สำหรับครอบครัว และสำหรับโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน และฝึกปฏิบัติการประกอบอาหารประเภทต่างๆ ตามหลักสุขอนามัย

522 318 การบริบาลทารกและเด็กก่อนวัยเรียน 3(3-0-6)

(Nursing Care for Infants and Preschool Children)

หลักการบริบาล การส่งเสริมการพัฒนาการ การเจริญเติบโตของทารกและเด็กก่อนวัยเรียน การฝึกสุขนิสัย การป้องกันอันตรายและความเจ็บป่วย การสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัวและสังคม

522 319 การอนามัยแม่และเด็กปฐมวัย 3(3-0-6)

(Maternal and Child Health)

หลักและวิธีการให้บริการอนามัยแม่และเด็กปฐมวัย การพัฒนาการของเด็ก การให้ภูมิคุ้มกันโรค การให้นมแม่ การให้บริการวางแผนครอบครัว

522 320 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 3(3-0-6)

(Child Care)

ทฤษฎีและแนวคิดทางจิตวิทยา พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ขวบ ทั้งเด็กปกติและ เด็กพิเศษ การสังเกตพฤติกรรมเด็กปฐมวัย การศึกษารูปแบบและการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เด็กวัยทารก เด็กวัยก่อนวัยเรียน การจัดสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเด็กปฐมวัย การจัดทำโครงการเพื่อเด็กปฐมวัย การจัด ศูนย์ และแนวการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

522 321 การพยาบาลฉุกเฉิน 3(3-0-6)

(Emergency Nursing)

แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน การเกิดอุบัติภัยหมู่การก่อการร้ายและสาธารณภัย การเกิดการบาดเจ็บ การจัดระบบการรักษาพยาบาล การประเมินและคัดกรองการบำบัดรักษา ณ ที่เกิดเหตุ การขนส่ง การบำบัดระหว่างการนำส่ง การกู้ชีวิต การบำบัดอาการและการตอบสนองของร่างกายต่อการเจ็บป่วยฉุกเฉินและการบาดเจ็บรุนแรง การป้องกันควบคุมการเกิดการบาดเจ็บและการถูกกระทำรุนแรงในเด็กปฐมวัย

522 322 จิตวิทยาครอบครัวและชีวิต 3(3-0-6)

(Family Psychology and Life)

พฤติกรรมในครอบครัว พัฒนาการของครอบครัวและสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว อิทธิพลของค่านิยม ความเชื่อและปรัชญาต่อพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว

522 325 จิตวิทยาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 3(3-0-6)

(Psychology of Learning Activities for Early Childhood)

ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมให้แก่เด็กปฐมวัย หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้อง หลักการและวิธีการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมแก่เด็กปฐมวัย

522 326 สุขภาพจิต 3(3-0-6)

(Mental Health)

การปรับตัวและสุขภาวะ ทฤษฎีบุคลิกภาพ ความผิดปกติทางจิต และการบำบัดรักษาความเครียดและการเผชิญความเครียด งานตามขั้นพัฒนาและวิกฤติที่คาดคะเนได้ การอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ การปรับตัวทั้งในครอบครัว ชีวิตสมรส สถาบันการศึกษาและที่ทำงาน การส่งเสริมสุขภาพจิต การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

522 327 นิทานและหุ่นสำหรับเด็กปฐมวัย 3(3-0-6)

(Innovation and Puppets for young Children)

ความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของนิทานที่มีต่อเด็กปฐมวัย ประเภทของนิทานสำหรับเด็ก ประวัตินักแต่งนิทานสำคัญของโลก เทคนิคการเล่านิทาน ความหมาย ความสำคัญของหุ่น ประวัติความเป็นมาของหุ่น ประเภทของหุ่นและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างหุ่นจากวัสดุชนิดต่าง ๆ เช่น หุ่นมือ หุ่นถุงกระดาษ ฯลฯ การสร้างโรงหุ่นประเภทต่าง ๆ การเขียนบทเชิดหุ่น และการพากย์หุ่น การแสดงละครหุ่น